วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ประวัติเเละความสำคัญของพระพุทธศาสนา
      พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศศรีลังกา ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวนัมปิยติสสะ โดยพระมหินทเถระพร้อมกับภิกษุอีก ๔ รูป ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งไปเผยแพร่ พระเจ้าอโศกมหาราชกับพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ เป็นพระสหายที่ไม่เคยเห็นหน้าซึ่งกันและกัน 
แต่ทั้งสองพระองค์ก็มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน และเมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะก็ทรงต้อนรับและสนับสนุนให้ความอุปถัมภ์เป็นอย่างดียิ่ง ทำให้พระพุทธศาสนาดำรงมั่นคงในศรีลังกาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา  อ่านเพิ่มเติม
บทที่ 2 พุทธประวัติเเละชาดก
พุทธประวัติ
ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนได้ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับพุทธประวัติในด้านการตรัสรู้และการก่อตั้งพระพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้ว ส่วนในระดับชั้นนี้นักเรียนจะได้ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธจริยาเพื่อที่จะได้น้อมนำมาเป็นแนวทางในการศึกษาและปฎิบัติต่อไป  อ่านเพิ่มเติม
บทที่ 3 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเเละศาสนพิธี
วันมาฆบูชา คือ วันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 พระศาสดาประชุมพระสาวก ณ พระวิหารเวฬุวัน ได้มีสันติบาตประกอบด้วย
องค์ 4 คือ
1. เป็นวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ
2. ภิกษุ 1,250 รูปมาประชุมกันโดยไม่มีใครนัดหมาย
3. ภิกษุทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา
4. ภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ได้รับการบวชแบบเอหิภิกขุ   อ่านเพิ่มเติม
บทที่ 4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
พระรัตนตรัย คือแก้วอันประเสริฐ (ของชาวพุทธ) 3 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์พระพุทธ     คือ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตามพระธรรม     คือ  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าพระสงฆ์     คือ ผู้ปฏิบัติชอบตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วสอนผู้อื่นให้ประพฤติปฏิบัติตาม
อ่านเพิ่มเติม 
บทที่ 5 พระไตรปิฎกเเละพุทธศาสนสุภาษิต
พระสูตร หรือที่เรียกในทางวิชาการว่า พระสุตตันปิฎก เป็น 1 ใน 3 ปิฎก มีลักษณะที่แตกต่างออกไปจากพระวินัยปิฎกและ
พระอภิธรรมปิฎก คือ เป็นการแสดงพระธรรมเทศนาที่มี บุคคล เหตุการณ์และสถานที่เข้ามาประกอบที่เรียกว่า บุคลาธิษฐาน โดยที่พระพุทธเจ้าทรงปรารภบุคคลเป็นต้น แล้วทรงถือโอกาสแสดงธรรมเทศนา ที่มีลักษณะเป็น ธรรมาธิษฐานบ้าง แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย
พระธรรมเทศนาในพระสูตรมีเป็นจำนวนมาก หลายหมวด หลายประเภท  อ่านเพิ่มเติม
บทที่ 6 การบริหารจิตเเละเจริญปัญญา
การบริหารจิต   หมาย ถึง การบำรุงรักษาจิตให้เข้มแข็งผ่องใสบริสุทธิ์  ซึ่งต่างกับการบริหารกาย เพราะการบริหารกายต้องทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอยู่เสมอแต่การบริหารจิต จะต้องฝึกฝนให้จิตสงบนิ่งอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งการฝึกจิตให้สงบ คือการทำสมาธินั่นเอง  อ่านเพิ่มเติม
บทที่ 7 พุทธสาวก พุทธสาวิกา เเละศาสนิกชนตัวอย่าง
พระนางมัลลิกา พระนางมัลลิกา ทรงเป็นธิดาของช่างทำดอกไม้   มีหน้าที่ออกไปเก็บดอกไม้ในสวนเพื่อนำมาให้บิดาทำพวงมาลัยทุกวันเพื่อไว้ขายเป็นประจำ  นางได้ถวายดอกไม้และได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าจนได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่อายุยังน้อย  อ่านเพิ่มเติม
บทที่ 8 หน้าที่เเละมารยาทชาวพุทธ
1. หน้าที่ชาวพุทธ  ชาวพุทธ มีหน้าที่มากมายหลายประการที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติ เพื่อที่จะรำลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และเพื่อทำนุบำรุงอุปถัมภ์ สืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองตลอดไป  อ่านเพิ่มเติม
บทที่ 9 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา 
ความรู้เกี่ยวกับศาสนา
   ศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นแนวทางให้มนุษย์สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง  แม้แต่ละศาสนาจะมีมูลเหตุการเกิดที่ต่างกัน   แต่ก็ล้วนมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เหมือนกัน  ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนา  เพื่อจะได้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม  อ่านเพิ่มเติม
บทที่10 ศาสนาสำคัญในประเทศไทย
ศาสนาพราหมณ์
                ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่เก่าแก่และเชื่อว่าเกิดก่อนพุทธกาลไม่น้อยกว่า ๕,000 ปี  ตลอดจนเป็นต้นตำหรับของศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลามิและอื่นการเกิดของศาสนาพราหมณ์แตกต่างกับศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลามที่เกิดขึ้นเพราะมีคน ๆ  หนึ่งค้นพบความสำเร็จในหลักธรรม  แล้วสั่งสอนคนทั้งหลายในฐานะเป็นศาสดาคำสอนที่ท่านสอนก็เป็นศาสนา   แต่ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดาโดยคำสอนต่างๆที่เกิดขึ้นเพราะมีผู้รวบรวมลัทธิดั้งเดิมของชาวชมพูทวีป  (อินเดีย - เนปาลร้อยกรองเข้าเป็นรูปของศาสนาโดยมีการดัดแปลง แก้ไขอยู่เสมอ  เพื่อให้เข้ากับความเชื่อถือของประชาชนซึ่งเป็นข้อแตกต่างกับศาสนาอื่นในแง่ที่ดึงศาสนาไปหาความเชื่อของคน แทนที่จะดึงความเชื่อของคนเข้าหาศาสนา  อ่านเพิ่มเติม